สถิติผู้เยี่ยมชม

วันนี้ 1 คน
ออนไลน์ 1 คน
ทั้งหมด 602,281 คน
 

ผลสำรวจ

คุณพึงพอใจเว็บไซต์นี้เพียงใด


ราคาน้ำมันวันนี้

กิจกรรมสำนักงาน

เจ้าหน้าที่กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง และคณะ ลงพื้นที่โครงการระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร

(อัพเดทเมื่อ 11 ม.ค. 2562)

เจ้าหน้าที่กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง และคณะ ลงพื้นที่โครงการระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพง                          (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร

วันที่ 11 มกราคม 2562 เวลา 08.30 น. นายอธิคม รักสัตย์ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ ไชยนาแพง หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 4 ให้การต้อนรับนางสาวจินจะนะ แก้วไทรแย้ม ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานพื้นที่ 21 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะลงพื้นที่โครงการระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพง (ตอนบน) จังหวัดยโสธร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อจัดหาแหล่งน้ำให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านศรีสวัสดิ์ ตำบลศรีแก้ว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร พร้อมบรรยายสรุปโครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโพง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร

โครงการระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร แผนการก่อสร้าง 3 ปี (พ.ศ. 2561 - 2563) ก่อสร้างระบบสาย 1R-MP  ยาว 2,390 กิโลเมตร ในปีงบประมาณ 2562 โดยใช้งบสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งบประมาณ 38,000,000 บาท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถส่งน้ำด้วยระบบส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้ 1,273 ไร่


ภาพกิจกรรม




กิจกรรมอื่น ๆ

สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) จังหวัดอุบลราชธานี  วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. นายสาธิต  สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้นายเมืองเพชร ศิริ หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 จัดรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับนายแผน จันทร์เพ็ง กำนันตำบลห้วยข่า นายศุภกฤษ์ สายสะเดาะ นักวิชาการจัดหาที่ดิน ฝ่ายจัดหาที่ดินที่ 3 ส่วนจัดหาที่ดินที่ 2 กรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ วัดบ้านแก้งสว่าง มีผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นจำนวน 60 คน สรุปผลการประชุมครั้งนี้ ผู้ร่วมรับฟังความคิดเห็นทั้งหมดเห็นด้วยและมีความคิดเห็นให้เร่งดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว  โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) ตั้งอยู่ที่บ้านบก ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก  จังหวัดอุบลราชธานี  แผนการก่อสร้าง 4 ปี (2567 - 2570) สามารถช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานได้ 6,000 ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 540 ครัวเรือน
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำห้วยสาธุง จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำห้วยสาธุง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้นายภูมิสิทธิ์ สุทธิทัศนาวิทย์ นายช่างชลประทานชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำห้วยสาธุง จังหวัดอุบลราชธานี จุดที่ตั้งประตูระบายน้ำ ที่ตั้งหัวงาน พื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ โดยลงพื้นที่จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสำโรง บ้านร่อง บ้านคันแยงน้อย บ้านร่องคันแยง บ้านโนนศาลา และบ้านนาขาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ นางสาวภิตินันท์ ดอกไม้ วิศวกรโยธาชำนาญการ ส่วนวางโครงการที่ 2 สำนักบริหารโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลโครงการ แผนพัฒนาต่าง ๆ ไปประกอบการศึกษาโครงการ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในลำดับต่อไป โครงการประตูระบายน้ำสาธุง ตั้งอยู่ที่บ้านสำโรง ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี แผนการก่อสร้าง 2 ปี (2570 – 2571)  เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จสามารถเก็บกักน้ำในลำน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และฤดูฝนทิ้งช่วงในการเกษตรกรรม และเพื่ออุปโภค-บริโภค พื้นที่รับประโยชน์ 3,500 ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 1,645 ครัวเรือน           
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี  วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้ นายศิริมงคล ชมภูเกตุ นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการ จุดที่ตั้งประตูระบายน้ำ ที่ตั้งหัวงาน พื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ โดยลงพื้นที่จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองลุมพุก บ้านบก ตำบลแก่งเค็ง และบ้านบุ่งแสง บ้านตาดแต้ ตำบลกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ นางสาวภิตินันท์ ดอกไม้ วิศวกรโยธาชำนาญการ ส่วนวางโครงการที่ 2 สำนักบริหารโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลโครงการ แผนพัฒนาต่าง ๆ ไปประกอบการศึกษาโครงการ และดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในลำดับต่อไป โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก ตั้งอยู่ที่บ้านหนองลุมพุก ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้นจังหวัดอุบลราชธานี แผนการก่อสร้าง 2 ปี (2569 - 2570) เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถช่วยกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค - บริโภค การประมง และป้องกันน้ำไหลลงสู่แม่น้ำมูลอย่างรวดเร็ว มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3,200 ไร่  ฤดูแล้งได้ประมาณ 500  ไร่
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) จังหวัดอุบลราชธานี  วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้นายเมืองเพชร ศิริ หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 นายจักรณรงค์ การภักดี นายช่างชลประทานชำนาญงาน ประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อชี้แจงระเบียบข้อบังคับของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน ให้การจัดสรรน้ำ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามความต้องการของเกษตรกรอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และประหยัด ร่วมกับนายธนกร องค์สถาพร หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 โครงการชลประทานอุบลราชธานี นายปั่น พงทะลาผู้ใหญ่บ้านแก้งสว่าง หมู่ที่ 5 ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน บ้านแก้งสว่าง จังหวัดอุบลราชธานี  โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านบก ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี  แผนการก่อสร้าง 6 ปี (2564 - 2569) สามารถช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานได้ 9,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ชลประทานฝั่งซ้าย 3,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานฝั่งขวา 6,000  ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 1,040 ครัวเรือน ปัจจุบันโครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) ก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถส่งน้ำให้เกษตรกรเพื่อทำการเกษตร และอุปโภค - บริโภค
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7  ลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี   วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้ นายศิริมงคล ชมภูเกตุ นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบภูมิประเทศลำห้วยขุหลุ เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ประกอบการก่อสร้าง โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก เพื่อปิดกั้นห้วยขุหลุ ช่วยเหลือปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ร่วมกับนายจันทรา สีงาม ผู้ใหญ่บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ 5 ณ บ้านหนองลุมพก อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก ตั้งอยู่ที่บ้านหนองลุมพุก ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้นจังหวัดอุบลราชธานี แผนการก่อสร้าง 2 ปี (2569 - 2570) เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถช่วยกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค - บริโภค การประมง และป้องกันน้ำไหลลงสู่แม่น้ำมูลอย่างรวดเร็ว มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3,200 ไร่  ฤดูแล้งได้ประมาณ 500  ไร่