สถิติผู้เยี่ยมชม

วันนี้ 1 คน
ออนไลน์ 1 คน
ทั้งหมด 603,660 คน
 

ผลสำรวจ

คุณพึงพอใจเว็บไซต์นี้เพียงใด


ราคาน้ำมันวันนี้

กิจกรรมสำนักงาน

องคมนตรีลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

(อัพเดทเมื่อ 14 ก.พ. 2561)

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 พลอากาศเอกชลิต  พุกผาสุก องคมนตรีและคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีนายประพิศ  จันทร์มา รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง กรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการต้อนรับและบรรยายการสรุปในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

โดยนายสาธร  สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ได้เข้าร่วมติดตามลงพื้นที่เพื่อต้อนรับองคมนตรี และคณะ ร่วมกับนายประพิศ  จันทร์มา รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง กรมชลประทาน นายสมชาย  คณาประเสริฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 7 นายเกียรติศักดิ์  ผัดวัง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอำนาจเจริญ นายสิริรัฐ  ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจิรญ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และตัวแทนผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้การต้อนรับ ทั้งนี้ พลอากาศเอกชลิต  พุกผาสุก องคมนตรี ได้รับฟังการบรยายสรุป และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฝายห้วยจันลัน 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ลักษณะโครงการเป็นการก่อสร้างอาคารฝายทดน้ำ แทนฝายน้ำล้นขนาดเล็กตามแบบมาตรฐาน มข. เดิมที่ชำรุด 1 แห่ง สูง 3 เมตร ยาว 32 เมตร และอาคารประกอบพร้อมทั้งขุดลอก ลำห้วยลึก 1.5 เมตร บริเวณด้านหน้าฝายยาว 1,000 เมตร บริเวณด้านท้ายฝายยาว 300 เมตร เพื่อเพิ่มความจุของน้ำในลำห้วย มีพื้นที่รับประโยชน์ 890 ไร่ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร และการปศุสัตว์ได้อย่างเพียงพอ หลังจากนั้น องคมนตรี และณะ ได้เดินทางไปยังโครงการฝายห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ลักษณะโครงการเป็นการก่อสร้างฝายอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 13.20 เมตร ยาว 55 เมตร สูง 2.50 เมตร เป็นระยะทางยาว 1,600 เมตร และดำเนินการรื้อฝายฯ มข. เดิมที่ชำรุดเสียหาย เนื่องจากเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ มีพื้นที่รับประโยชน์ 1,750 ไร่ สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค เลี้ยงสัตว์การประมง และทำการเกษตรของประชาชนในพื้นที่ 


ภาพกิจกรรม




กิจกรรมอื่น ๆ

สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) จังหวัดอุบลราชธานี  วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. นายสาธิต  สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้นายเมืองเพชร ศิริ หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 จัดรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับนายแผน จันทร์เพ็ง กำนันตำบลห้วยข่า นายศุภกฤษ์ สายสะเดาะ นักวิชาการจัดหาที่ดิน ฝ่ายจัดหาที่ดินที่ 3 ส่วนจัดหาที่ดินที่ 2 กรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ วัดบ้านแก้งสว่าง มีผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นจำนวน 60 คน สรุปผลการประชุมครั้งนี้ ผู้ร่วมรับฟังความคิดเห็นทั้งหมดเห็นด้วยและมีความคิดเห็นให้เร่งดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว  โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งขวา) ตั้งอยู่ที่บ้านบก ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก  จังหวัดอุบลราชธานี  แผนการก่อสร้าง 4 ปี (2567 - 2570) สามารถช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานได้ 6,000 ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 540 ครัวเรือน
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำห้วยสาธุง จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำห้วยสาธุง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้นายภูมิสิทธิ์ สุทธิทัศนาวิทย์ นายช่างชลประทานชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำห้วยสาธุง จังหวัดอุบลราชธานี จุดที่ตั้งประตูระบายน้ำ ที่ตั้งหัวงาน พื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ โดยลงพื้นที่จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสำโรง บ้านร่อง บ้านคันแยงน้อย บ้านร่องคันแยง บ้านโนนศาลา และบ้านนาขาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ นางสาวภิตินันท์ ดอกไม้ วิศวกรโยธาชำนาญการ ส่วนวางโครงการที่ 2 สำนักบริหารโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลโครงการ แผนพัฒนาต่าง ๆ ไปประกอบการศึกษาโครงการ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในลำดับต่อไป โครงการประตูระบายน้ำสาธุง ตั้งอยู่ที่บ้านสำโรง ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี แผนการก่อสร้าง 2 ปี (2570 – 2571)  เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จสามารถเก็บกักน้ำในลำน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และฤดูฝนทิ้งช่วงในการเกษตรกรรม และเพื่ออุปโภค-บริโภค พื้นที่รับประโยชน์ 3,500 ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 1,645 ครัวเรือน           
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี  วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้ นายศิริมงคล ชมภูเกตุ นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการ จุดที่ตั้งประตูระบายน้ำ ที่ตั้งหัวงาน พื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ โดยลงพื้นที่จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองลุมพุก บ้านบก ตำบลแก่งเค็ง และบ้านบุ่งแสง บ้านตาดแต้ ตำบลกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ นางสาวภิตินันท์ ดอกไม้ วิศวกรโยธาชำนาญการ ส่วนวางโครงการที่ 2 สำนักบริหารโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลโครงการ แผนพัฒนาต่าง ๆ ไปประกอบการศึกษาโครงการ และดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในลำดับต่อไป โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก ตั้งอยู่ที่บ้านหนองลุมพุก ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้นจังหวัดอุบลราชธานี แผนการก่อสร้าง 2 ปี (2569 - 2570) เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถช่วยกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค - บริโภค การประมง และป้องกันน้ำไหลลงสู่แม่น้ำมูลอย่างรวดเร็ว มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3,200 ไร่  ฤดูแล้งได้ประมาณ 500  ไร่
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) จังหวัดอุบลราชธานี  วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้นายเมืองเพชร ศิริ หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 3 นายจักรณรงค์ การภักดี นายช่างชลประทานชำนาญงาน ประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อชี้แจงระเบียบข้อบังคับของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน ให้การจัดสรรน้ำ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามความต้องการของเกษตรกรอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และประหยัด ร่วมกับนายธนกร องค์สถาพร หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 โครงการชลประทานอุบลราชธานี นายปั่น พงทะลาผู้ใหญ่บ้านแก้งสว่าง หมู่ที่ 5 ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน บ้านแก้งสว่าง จังหวัดอุบลราชธานี  โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านบก ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี  แผนการก่อสร้าง 6 ปี (2564 - 2569) สามารถช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานได้ 9,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ชลประทานฝั่งซ้าย 3,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานฝั่งขวา 6,000  ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 1,040 ครัวเรือน ปัจจุบันโครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสะพงน้อย (ฝั่งซ้าย) ก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถส่งน้ำให้เกษตรกรเพื่อทำการเกษตร และอุปโภค - บริโภค
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 ลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7  ลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี   วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. นายสาธิต สาธุภาค ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 7 มอบหมายให้ นายศิริมงคล ชมภูเกตุ นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบภูมิประเทศลำห้วยขุหลุ เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ประกอบการก่อสร้าง โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก เพื่อปิดกั้นห้วยขุหลุ ช่วยเหลือปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ร่วมกับนายจันทรา สีงาม ผู้ใหญ่บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ 5 ณ บ้านหนองลุมพก อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี โครงการประตูระบายน้ำบ้านหนองลุมพุก ตั้งอยู่ที่บ้านหนองลุมพุก ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้นจังหวัดอุบลราชธานี แผนการก่อสร้าง 2 ปี (2569 - 2570) เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถช่วยกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค - บริโภค การประมง และป้องกันน้ำไหลลงสู่แม่น้ำมูลอย่างรวดเร็ว มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3,200 ไร่  ฤดูแล้งได้ประมาณ 500  ไร่